ครูผู้ช่วยอาชีวะ

ครูผู้ช่วยอาชีวะ
ครูผู้ช่วยอาชีวศึกษา หรือ ครูอาชีวะ คือ ข้าราชการครู ในตำแน่งครูผู้ช่วยที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาอาชีวศึกษา มีหน้าที่หลักในการสอนนักเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและหลักสูตรอาชีวศึกษา โดยหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ครูผู้ช่วยอาชีวะ ต้องสอน เช่น วิชาภาษาไทย วิชาคณิตศาสตร์ , วิทยาศาสตร์ , ภาษาอังกฤษ เป็นต้น
 
ส่วนหลักสูตรอาชีวศึกษาที่ครูอาชีวะต้องสอน ได้แก่ วิชาทฤษฎีและปฏิบัติในสาขาวิชาชีพต่างๆ เช่น ช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า ช่างอิเล็กทรอนิกส์ ช่างก่อสร้าง ช่างอุตสาหกรรม ช่างอาหารและโภชนาการ ช่างตัดผม ช่างเสริมสวย เป็นต้น

ครูอาชีวะ สอบอะไรบ้าง

อ้างอิงตาม ประกาศ อ.ก.ค.ศ. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เรื่อง รับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้าราชการฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย

การสอบครูผู้ช่วยอาชีวะ แบ่งออกเป็น 3 ภาค ได้แก่

ภาค ก (ครูอาชีวะ)

ความรอบรู้ และ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความประพฤติและการปฏิบัติของวิชาชีพครู

ดูตัวอย่างข้อสอบ  >> คลิก <<

  • ความรอบรูั (คะแนนเต็ม 50 คะแนน)

            – สังคม เศรฐกิจ บ้านเมือง และ เหตุการณ์ปัจจุบัน

            – นโยบายของรัฐฯ เกี่ยวกับการศึกษา

            – วัฒนธรรมไทย และ ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย

            – กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติราชการ

                  – พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542

                  – พ.ร.บ.ระเบียบบริหารการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546

                  – พ.ร.บ.สภาครู และ บุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546

                  – พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครู และ บุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 

                  – พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 

                  – พ.ร.บ.การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2551

                  – กฎหมาย กฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์และวิธีการที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาฯ

            – ความรู้ภาษาอังกฤษสำหรับการปฏิบัติงาน

  • ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความประพฤติและการปฏิบัติของวิชาชีพครู (คะแนนเต็ม 50 คะแนน)

           – วินัยและการรักษาวินัย

           – คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม

           – มาตรฐานวิชาชีพ

           – จรรยาบรรณวิชาชีพ

           – สมรรถนะวิชาชีพ

ภาค ข (ครูอาชีวะ)

ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง

ดูตัวอย่างข้อสอบ  >> คลิก <<

  • ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับวิชาการศึกษา (คะแนนเต็ม 50 คะแนน)

          – หลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร

          – หลักการสอนที่เน้นการสอนคิดวิเคราะห์และการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

          – จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว

          – การพัฒนาผู้เรียน

          – การบริหารจัดการชั้นเรียน

          – การวิจัยทางการศึกษา

         – สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา

         – การวัดและประเมินผลการศึกษา

  • ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับวิชาเอก  (คะแนนเต็ม 50 คะแนน)

ภาค ค (ครูอาชีวะ)

ความเหมาะสมกับตำแหน่งและวิชาชีพ 

  • ประวัติและผลงาน ซึ่งได้รับการรับรองจากผู้อำนวยการสถานศึกษา  (คะแนนเต็ม 50 คะแนน)
ครูผู้ช่วยอาชีวะ ภาค ค
  • สอบสัมภาษณ์   (คะแนนเต็ม 50 คะแนน)
สัมภาษณ์ครูผู้ช่วยอาชีวะ

เกณฑ์การตัดสิน ครูอาชีวะ

ผู้ที่จะสอบผ่านครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ คือ บุคคลที่สอบได้คะแนนแต่ละภาค ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60

โดย การจัดลำลับผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจะเรียงลำดับจากจากคะนนรวมจากมากไปน้อย

หากคะแนนเท่ากันให้พิจารณาคะแนน ภาค ข หากยังเท่ากันอีกให้พิจารณาคะแนนภาค ก หากยังเท่ากันให้จับสลาก

เอกสารการสมัครสอบครูอาชีวะ

1.ใบสมัครที่พิมพ์จากเว็บไซต์ vec.jobthaigov.com พร้อมลงลายมือชื่อให้ครบถ้วน

2.สำเนาเอกสารวุฒิการศึกษาฯ

   – สำเนาปริญญา จำนวน 1 ฉบับ

   – สำเนาแสดงผลการเรียน (Transcript) ฉบับภาษาไทย  จำนวน 1 ฉบับ

3.สำเนาแสดงผลการเรียน (Transcript) ฉบับภาษาไทย ของคุณวุฒิระดับอนุปริญญา จำนวน 1 ฉบับ (ถ้ามี)

4.เอกสารหลักฐานแสดงว่าคุณวุฒิที่ใช้ในการสมัครสอบคัดเลือก เป็นคุณวุฒิที่ ก.ค.ศ. รับรอง จำนวน 1 ฉบับ

5.สำเนาหนังสือรับรองการรับหน่วยกิต จำนวน 1 ฉบับ (ถ้ามี)

6.สำเนาหลักฐานที่ใช้แสดงในการประกอบวิชาชีพครู จำนวน 1 ฉบับ

7.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ฉบับ

8.สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ฉบับ

9.สำเนาหลักฐานอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น ใบสำคัญการสมรส ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล

10.สำเนาคำสั่งจ้างหรือสัญญาจ้างที่แสดงว่าเป็นพนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ครูอัตราจ้างหรือลูกจ้างชั่วคราวฯ รวมกันไม่น้อยกว่า 3 ปี นับถึงวันรับสมัครคัดเลือกวันสุดท้าย

หลักฐานการสมัครสอบครูอาชีวะ

เอกสารการสมัครครูอาชีวะ แผ่นที่ 1
เอกสารการสมัครครูอาชีวะ แผ่นที่ 2
เอกสารการสมัครครูอาชีวะ แผ่นที่ 3

กลุ่มวิชาครูอาชีวะที่เปิดรับสมัคร

1.กลุ่มวิชาสามัญ

เช่น ภาษาไทย , ภาษาอังกฤษ , สังคม , คณิตศาสตร์ , พลศึกษา , วิทยาศาสตร์ , เคมี , ชีววิทยา , ฟิสิกส์ , กฎหมาย

2.กลุ่มวิชาขาดแคลนหรือมีความจำเป็นต่อการจัดการเรียนการสอน

ประเภทวิชา อุตสาหกรรม

เช่น ช่างยนต์ , ช่างกลโรงงานและเทคนิคการผลิต , ช่างเชื่อมโลหะ , ช่างต่อเรือ , ช่างไฟฟ้ากำลัง เป็นต้น

ประเภทวิชา พาณิชยกรรม

เช่น การบัญชี , การเลขานุการ , การเงินและการธนาคาร เป็นต้น

ประเภทวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

เช่น คอมพิวเตอร์ธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ประเภทวิชา เกษตรกรรม

เช่น พืชศาสตร์และเกษตรกรรม อุตสาหกรรม , ปฐพีวิทยา , อารักขาพืช , เกษตรศาสตร์ เป็นต้น

ประเภทวิชา ประมง

เช่น เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ , แปรรูปสัตว์น้ำ เป็นต้น

ประเภทวิชา ศิลปกรรม

เช่น เครื่องประดับอัญมณี , ศิลปการดนตรี , วิจิตรศิลป์ , คอมพิวเตอร์กราฟิก เป็นต้น

ประเภทวิชา คหกรรม

เช่น อาหารและโภชนาการ , อุตสาหกรรมอาหาร , คหกรรมศาสตร์ , ผ้าและเครื่องแต่งกาย เป็นต้น

ประเภทวิชา อุตสาหกรรมท่องเที่ยว

เช่น การท่องเที่ยว , การโรงแรม

ประเภทวิชา อุตสาหกรรมสิ่งทอ

เช่น เทคโนโลยีสิ่งทอ / เทคโนโลยีการทอผ้าไหมและทอผ้าพื้นเมือง

ประเภทวิชา อุตสาหกรรม S-curve

เช่น ยานยนต์สมัยใหม่ , อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ เป็นต้น

สอบครูผู้ช่วยอาชีวะให้ติดง่ายๆ มีเทคนิคง่ายๆ คือ อ่านหนังสือตามเนื้อหาที่จะสอบให้มากๆ และฝึกฝนทำข้อสอบบ่อยๆ ในเว็บไซต์ ข้อสอบครู.com มีข้อสอบครูผู้ช่วยให้ฝึกทำออนไลน์ ได้ทุกที่ทุกเวลา และ มีบทความเกี่ยวกับครูผู้ช่วย ดีๆที่ถูกถ่ายทอดจากประสบการณ์ตรง

สู้ๆเพื่อและทำตามฝัน เป็น “ครูผู้ช่วย” ให้ได้